top of page
ภาพหน้าจอ (805).png

 หน่วยที่ 1หลักการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ

วัตถุประสงค์ทั่วไป

      1.1 เข้าใจหลักการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ

      1.2 เข้าใจอุปกรณ์หลักในระบบเครื่องปรับอากาศ

      1.3 เข้าใจอุปกรณ์เสริมในระบบเครื่องปรับอากาศ

      1.4 เข้าใจวงจรต่างๆในระบบเครื่องปรับอากาศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

       1.1  อธิบายหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      1.2  อธิบายท่อแรงดันในวงจรเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      1.3  อธิบายอุปกรณ์หลักในระบบเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      1.4  บอกประเภทและชนิดของอุปกรณ์หลักในระบบ เครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      1.5  อธิบายอุปกรณ์เสริมในระบบเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      1.6  บอกชื่ออุปกรณ์เสริมในระบบเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      1.7  อธิบายวงจรต่าง ๆ ในเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      1.8  อธิบายเลือกเปิด - ปิด วาล์วควบคุมสารทำความเย็นในชุดสาธิตเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

png-clipart-livre-de-dessin-anime-livre-
unnamed.png
images.png
iconfinder-document03-1622833_121957.png

หน่วยที่ 1 หลักการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ

1. หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
     
หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ มีลักษณะคล้ายหลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น ทั่วไป คือใช้หลักการของระบบอัด (Compression System) แต่จะแตกต่างกันตรงที่ระบบการปรับ อากาศจำเป็นต้องมีวงจรอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง

1.jpg
2.  อุปกรณ์หลักของเครื่องปรับอากาศ
2.1  คอมเพรสเซอร์ (Compressor) หรือบางครั้งอาจจะเรียกว่า มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ (Motor Compressor) เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญที่สุดของระบบเครื่องปรับอากาศมีหน้าที่ดูดสารทำความเย็นที่เป็นแก๊สแรงดันต่ำ สามารถแบ่งได้ 3 แบบ คือ 1.คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor ) 2.คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary compressor)  3.คอมเพรสเซอร์แบบสโครล์ (Scroll Compressor)`
2.2  คอนเดนเซอร์ (Condenser) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่เป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงอุณหภูมิสูงจากท่อทางอัด (Discharge Ling) มาระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็น สามารถแบ่งได้  2 ชนิด คือ 1.ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled)  2.ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ(Water Cooled)
2.3  ตัวควบคุมสารทำความเย็น (Refrigerant Control)  มีหน้าที่รับสารทำความเย็นเหลวแรงดันสูง จากท่อสารทำความเย็นเหลว (Liquid Line) มาทำให้มีค่าแรงดันต่ำลงก่อนที่จะปล่อยเข้าไปให้เดือดในอีแวปปอเรเตอร์
2.4  อีแวปปอเรเตอร์ (Evaporator) มีหน้าที่รับสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวแรงดันต่ำจากตัวควบคุมสารทำความเย็น ทำให้สารทำความเย็นมาเดือดในอีแวปปอเรเตอร์ สารทำความเย็นจะดูดความร้อนจากอีแวปปอเรเตอร์
3.  อุปกรณ์เสริมในระบบปรับอากาศ

3.1  ตัวกรองและดูดความชื้น (Filter drier) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและดูดความชื้นในระบบเครื่องปรับอากาศ

3.2  กระจกมองสารทำความเย็น (Sight Glass)  กระจกมองสารทำความเย็น บางทีเรียกว่า ตาแก้ว เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำหน้าที่ดูสารทำความเย็นที่ไหลอยู่ภายในท่อ

3.3  ตัวสะสมสารทำความเย็นเหลว (Accumulator) ตัวสะสมสารทำความเย็นเหลว หรือแอคคิวมูเลเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่ออกจากอีแวปปอเรเตอร์

3.4  ตัวแยกน้ำมันหล่อลื่น (Oil Separator) คอมเพรสเซอร์ที่ใช้งานในระบบจำเป็นต้องมีน้ำมันเพื่อการหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเสียดสีกัน เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานจะดูดและอัดแก๊สหรือไอสารทำความเย็นที่เป็นละอองน้ำมันออกมาทางท่อทางอัด

3.5  ถังพักสารทำความเย็นเหลว (Liquid Receiver)  ถังพักสารทำความเย็นเหลว เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดักสารทำความเย็นที่เป็นแก๊สเอาไว้และปล่อยให้สารทำความเย็นเหลวไหลต่อไปในระบบได้

4.  วงจรต่าง ๆ ในระบบเครื่องปรับอากาศ
4.1  วงจรสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศจากหลักการทำงานเบื้องต้นที่ได้กล่าวมา สามารถสรุปได้ว่า วงจรสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 4 ส่วน
2.jpg

4.2  วงจรไฟฟ้าในเครื่องปรับอากาศ จากหลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องปรับอากาศ ความเย็นที่ได้รับในห้องที่ต้องการปรับอากาศ จะเกิดจากการไหลของสารทำความเย็น ในวัฏจักรการทำงานระบบอัด วัฏจักรดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีวงจรไฟฟ้า เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงานของวัฏจักร

3.png

4.3  วงจรอากาศในเครื่องปรับอากาศ ในการปรับอากาศเพื่อความสบายของมนุษย์ จะต้องควบคุมให้อากาศภายในห้องมีอุณหภูมิ ความชื้นและความเร็วลมที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งถ้าอากาศภายในห้องมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะต้องถูกลดอุณหภูมิลง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

4.3.1 วงจรอากาศที่ไหลหมุนเวียนอยู่ในตัวเครื่องปรับอากาศ
4.jpg
4.3.2 วงจรอากาศที่ไหลหมุนเวียนอยู่ในห้องหรือพื้นที่ปรับอากาศ
5.jpg
bottom of page