
หน่วยที่ 5 งานติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังและแบบแขวน

วัตถุประสงค์ทั่วไป
5.1 เข้าใจลักษณะโครงสร้างของเครื่องปรับอากาศ
5.2 เข้าใจผังขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
5.3 เข้าใจหลักการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
5.4 เข้าใจเทคนิคการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
5.5 เข้าใจการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
5.1 อธิบายผังขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง
5.2 อธิบายหลักการติดตั้งเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง
5.3 อธิบายเทคนิคการติดตั้งเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง
5.4 อธิบายวิธีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง
5.5 อธิบายขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดติดผนังได้ถูกต้อง
5.6 สามารถติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดติดผนังได้ถูกต้อง



1. ลักษณะโครงสร้างของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
แฟนคอยล์ ยูนิต เป็นส่วนที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องที่ปรับอากาศ สามารถติดตั้งได้เป็นหลายแบบ เช่น แบบติดผนัง ,แบบตั้งพื้น
คอนเดนซิ่ง ยูนิต สามารถติดตั้งได้หลายแบบ คือ ติดตั้งแบบคอนเดนซิ่ง ยูนิต อยู่สูงกว่า ,ติดตั้งแบบแฟนคอยล์ ยูนิต อยู่สูงกว่า , ติดตั้งในระดับเดียวกัน
1.1 การออกแบบแนวเดินท่อ
หลักการที่สำคัญของการออกแบบการติดตั้งท่อทองแดงเพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีรายละเอียดดังนี้
1.1.1 ระยะท่อต้องไม่ยาวเกิน 15 เมตร
1.1.2 ติดตั้งเป็นแนวตรงให้มากที่สุดและหลีกเหลี่ยงที่ต้องมีการดัดท่อเป็นมุม 90 องศา
1.1.3 ความต่างระดับระหว่างแฟนคอย ยูนิต กับคอนเดนซิ่ง ยูนิต ไม่ควรเกิน 7 เมตร
1.2 การเตรียมการติดตั้ง
1.2.1 สำรวจสถานที่ติดตั้งและเลือกเครื่องปรับอากาศเลือกตำแหน่งติดตั้งในบริเวณที่ไม่มีสิ่งกีดขวางทางเข้าออกของลมสามารถเดินสายไฟท่อสารทำความเย็นและท่อน้ำทิ้งได้สะดวก
1.2.2 สำรวจระบบไฟฟ้าว่าสามารถรองรับโหลดเครื่องปรับอากาศได้หรือไม่ โดยดูจากขนาดของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และอุปกรณ์ป้องกันวงจร
1.2.3 การเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์และสายวงจรย่อยของเครื่องปรับอากาศ ให้ใช้
2. ผังขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
.png)
3. หลักการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
3.1 การติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต
3.1.1 ติดตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ปราศจากฝุ่นละออง ละอองน้ำมัน
3.1.2 ติดตั้งในที่ที่สามารถเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และซ่อมแซมได้สะดวก
3.1.3 เลือกตำแหน่งที่เสียงจากการทำงานคอมเพสเซอร์และพัดลม จะไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้าน
3.1.4 ติดตั้งไม่ให้ห่างจากแฟนคอยล์ ยูนิต มากเกินมาตรฐาน
3.1.5 ติดตั้งในที่ร่ม ไม่ถูกแดดฝนมาก ไม่ให้เครื่องแช่น้ำ
3.1.6 ติดตั้งโดยมีแท่นยางรองรับ เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน
3.1.7 จัดวางตำแหน่งตัวคอนเดนซิ่ง ยูนิต ให้มีช่องว่างด้านข้างและด้านหลังมากกว่า 10 เซนติเมตร
3.2 การติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต
3.2.1 ติดตั้งในตำแหน่งที่เครื่องสามารถกระจายลมได้สม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง
3.2.2 ไม่ติดตั้งใกล้ประตูทางเข้าออก เนื่องจากจะเกิดไอน้ำจากการกลั่นตัวของอากาศภายนอก
3.2.3 ไม่ติดตั้งในบริเวณที่อากาศไม่สะอาด เช่น บริเวณที่มีการหุงต้ม ถ่ายเอกสารเป็นต้น
3.2.4 ไม่ติดตั้งในที่ที่มีสิ่งกีดขวางการกระจายของลมเย็นด้านหน้าของแฟนคอยล์ ยูนิต
3.2.5 ติดตั้งให้แฟนคอยล์ ยูนิต ลาดเอียงไปทางรูระบายน้ำของถาดน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการเอ่อล้นของน้ำทิ้งเข้ามาในห้อง และเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราที่ถาดน้ำทิ้ง
3.2.6 ติดตั้งในที่ที่ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมได้สะดวก
3.2.7 การติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต ควรสูงจากพื้นมากกว่า 2.3 เมตร
3.2.8 การติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต ในลักษณะตั้งพื้นเหมาะกับห้องความยาวไม่เกิน 5 เมตร หากห้องยาวเกิน 5 เมตร ควรติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต ในลักษณะแขวนเพดาน
3.2.9 การติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต ไม่ควรติดตั้งตรงตำแหน่งตรงข้ามประตู ควรเยื้องประตูเล็กน้อย เนื่องจากเมื่อลมเย็นถูกเป่าออกไปด้านประตูจะไปช่วยปะทะกับอากาศร้อนภายนอกควันและกลิ่นต่าง ๆ ที่อยู่นอกประตูไม่ให้เข้ามาในห้องได้
4. เทคนิคการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
การติดตั้งระบบท่อสารทำความเย็น จะต้องพิจารณาลักษณะการเดินท่อ โดยคำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับคอมเพรสเซอร์เป็นหลัก โอกาสที่จะเกิดความเสียหายแก่คอมเพรสเซอร์ จากลักษณะการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จะมีอยู่ 2 กรณี คือ การติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต สูงกว่า แฟนคอยล์ ยูนิต และการติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต ต่ำกว่าแฟนคอยล์ ยูนิต
4.1 การติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต สูงกว่าแฟนคอยล์ ยูนิต
เมื่อคอนเดนซิ่ง ยูนิต ติดตั้งสูงกว่าแฟนคอยล์ ยูนิต ระหว่าง 2.5-7.5 เมตร จะต้องติดตั้งท่อกักน้ำมันหล่อลื่น (Oil Trap) ชนิด P-Trap ไว้ที่ด้านล่างของท่อทางดูดที่อยู่ในแนวดิ่ง เพื่อทำหน้าที่กักเก็บน้ำมันหล่อลื่นที่ไหลตกลงมาด้านล่างของท่อในแนวดิ่ง


4.2 การติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิตต่ำกว่าแฟนคอยล์ ยูนิต
การติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิตต่ำกว่า แฟนคอยล์ ยูนิต จะต้องติดตั้งท่อกักน้ำมันชนิด lnvert-Trap (Loop) ไว้ที่ท่อทางออกของแฟนคอยล์ ยูนิต เพื่อป้องกันสารทำความเย็นเหลวไหลกลับเข้าคอมเพรสเซอร์ขณะหยุดทำงาน

5. การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดวิธี โดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องมีความเย็นลดลงแล้ว ยังสิ้น เปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วย
5.3 ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดติดผนัง
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศชนิดติดผนัง มีขั้นตอนดังนี้
5.3.1 จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อม
5.3.2 จัดเตรียมเครื่องปรับอากาศที่จะนำมาติดตั้งตรวจสอบสภาพเครื่องให้มีความพร้อมก่อนการติดตั้ง
5.3.3 วางแผนติดเพลทยึดแฟนคอยล์ ยูนิต ตามตำแหน่งที่ออกแบบไว้ เมื่อได้ตำแหน่งสำหรับติดตั้งแล้วติดแผ่นสำหรับแขวน เครื่องกับฝาผนัง ยึดด้วยสกรูขนาด 4 x 25 มม.
5.3.4 วัดระยะและเจาะรูด้วยดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 65 มม. จากผนัง
ด้านในให้ลาดเอียงออกไปทางด้านนอกเล็กน้อยประมาณ 5-10 มม.
5.3.5 ดัดท่อสารทำความเย็นออกจากด้านหลังแฟนคอยล์ ยูนิตแล้วนำท่อน้ำทิ้งมารวมเข้าด้วยกัน จากนั้นพันด้วยเทปสำหรับพันท่อให้เรียบร้อยซึ่งความยาวท่อที่ออกมาจากแฟนคอยล์ ยูนิต จะมีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร
5.3.6 แขวนแฟนคอยล์ ยูนิต โดยสอดท่อผ่านรูบนผนังที่เจาะไว้และที่เกี่ยวส่วนด้านบนของเครื่องเข้ากับแผ่นยึดฝาหลังของเครื่องตรวจดูความแน่นหนาของเครื่อง
5.3.7 วางแผนติดตั้งรางเดินท่อเครื่องปรับอากาศ ใช้ดินสอขีดเส้นแนวท่อที่ต้องการจากแฟนคอยล์ ยูนิตมายังคอนเดนซิ่ง ยูนิต
5.3.8 ติดตั้งรางครอบท่อตามแบบที่กำหนดให้โดยทำการติดตั้งรางครอบท่อชนิด PVC ขนาด 65 มิลลิเมตร เพื่อสำหรับวางท่อสารทำความเย็นจากแฟนคอยล์ ยูนิตมายังคอนเดนซิ่ง ยูนิต
5.3.9 ทำการดัดท่อทองแดงทั้งท่อสารทำความเย็นเหลวและท่อทางดูด ทั้งสองท่อด้วยเบนเดอร์ตามแบบที่กำหนดไว้ โดยจะต้องทำการปิดปากท่อทั้งสองด้านเพื่อป้องกันไม่ให้มีฝุ่น
5.3.10 นำฉนวนหุ้มท่อที่มีขนาดเดียวกันกับขนาดของท่อสวมเข้ากับท่อทองแดงทั้งสองเส้นโดยแยกสวมฉนวนละเส้น
5.3.11 วางแผนการติดตั้งท่อน้ำทิ้งโดยนำท่อน้ำขนาด 1 นิ้ว (ควรเป็นท่อสีฟ้าจะมีความหนาและป้องกันการเกิดหยดน้ำที่ผิวท่อได้ดีกว่าท่อสีเทา)
5.3.12 นำท่อน้ำทิ้งและสายไฟฟ้ารวมเข้ากับท่อสารทำความเย็น พันด้วยเทปพันสายไฟให้เรียบร้อย
5.3.13 นำคอนเดนซิ่ง ยูนิตขึ้นติดตั้งตามตำแหน่งที่ออกแบบไว้
5.3.14 ทำการต่อท่อเข้ากับแฟนคอยล์ ยูนิต โดยการบานปลายท่อทั้งสองข้างโดยใช้เครื่องมือบานท่อ ก่อนบานท่อทุกครั้งอย่าลืมใส่แฟลร์นัต ก่อนที่จะบานเสมอ
5.3.15 การเชื่อมต่อท่อเข้ากับคอนเดนซิ่ง ยูนิต ด้วยการบานปลายท่อทั้งสองโดยใช้เครื่องมือสำหรับบานท่อ ก่อนบานท่ออย่าลืมใส่แฟลร์นัตก่อนที่จะบานเสมอจากนั้นจัดปากท่อให้ตรงแนวเส้นผ่าศูนย์กลางวาล์ว ขันแฟลร์นัตที่อยู่ปลายท่อเข้ากับวาล์ว 2 ทางและวาล์ว 3 ทาง ด้วยมือให้แน่น จากนั้นจึงใช้
5.3.16 ตรวจรั่วระบบโดยการต่อถังแก๊สไนโตรเจนผ่านวาล์วลดแรงดันและ
เกจแมนิโฟลด์อัดแก๊สไนโตรเจนเข้าไปด้วยแรงดันประมาณ 120 psig ใช้ฟองสบู่ ตรวจสอบจุดต่อต่าง ๆ
5.3.17 การทำสุญญากาศให้ ปล่อยแก๊สไนโตรเจนออกจากระบบให้เหลือ 40 psig แล้วทำการดูดอากาศออกจากระบบใช้เวลาประมาน 30 นาที
5.3.18 ใช้เทปไวนิลพันท่อให้เรียบร้อย
5.3.19 จัดท่อเข้ากับรางครอบท่อและปิดฝาให้เรียบร้อย
5.3.20 วางแผนติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์และระบบสายเมนไฟฟ้าภายในห้องที่ติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิตต้องมีการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์เพื่อทำหน้าที่ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ส่วนใหญ่จะติดไว้บนแผงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว
5.3.21 การต่อสายไฟคอนเดนซิ่ง ยูนิต ทำการถอดสกรูฝาปิดแผงควบคุมออกจะสามารถมองเห็นจุดต่อแผงวงจรไฟฟ้า ทำการต่อสายไฟตามตำแหน่งโดยดูจากวงจรไฟฟ้าที่ติดอยู่ที่ตัวเครื่องขันสกรูขั้วสายไฟให้แน่นดึงสายไฟเบาๆเพื่อตรวจสอบยืนยันว่าสายไฟไม่หลุด
5.3.22 การติดตั้งรีโมทคอนโทรล
5.3.22 เมื่อทุกขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้วจึงหยุดการทำสุญญากาศ โดยการปิดคอมเปานด์เกจ และปิดเครื่องทำสุญญากาศโดยใช้ประแจหกเหลี่ยมเปิดวาล์วที่คอนเดนซิ่ง ยูนิตทั้ง 2 ตัว
5.3.23 ทดลองเดินเครื่องปรับอากาศแล้วใช้แคลมป์มิเตอร์วัดกระแสขณะเครื่องทำงาน ต้องไม่เกินพิกัดของเครื่อง และแรงดันสารทำความเย็นด้านความดันต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 120 psig
5.4 ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนขนิดแขวนใต้ฝ้าเพดาน
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแขวนเพดาน มีขั้นตอนดังนี้
5.4.1 วางแผนตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต ใช้ตลับเมตรวัดระยะหาตำแหน่งรูยึดเครื่องที่จะทำการยึดแฟนคอยล์ ยูนิตเข้ากับโครงเหล็กที่จัดเตรียมไว้
5.4.2 ทำการเจาะรู
5.4.3 นำแฟนคอยล์ ยูนิต ขึ้นแขวนกับโครง ยึดด้วยน็อตเกลียวเบอร์ 10 ข้างละ 2 จุดรวม4 จุด
5.4.4 ติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้โดยประกอบขายางรองเข้ากับคอนเดนซิ่ง ยูนิต จากนั้นยกคอนเดนซิ่ง ยูนิต เข้าไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้
5.4.5 เปิดฝาครอบด้านข้างเพื่อดูตำแหน่งท่อสารทำความเย็นที่ออกจากคอนเดนซิ่ง ยูนิตโดยถอดสกรูสองตัวด้านข้างออก
5.4.6 วางแผนดัดท่อเชื่อมระหว่างแฟนคอยล์ ยูนิต และคอนเดนซิ่ง ยูนิต โดยการใช้ตลับเมตรวัดระยะ
5.4.7 ดัดท่อตามแบบที่กำหนด
5.4.8 นำท่อที่พันฉนวนเรียบร้อยแล้วประกอบเข้ากับแฟนคอยล์ ยูนิต และคอนเดนซิ่ง ยูนิต โดยการเชื่อมปลายท่อเข้ากับแฟนคอยล์ ยูนิต ด้วยวิธีการเชื่อม
5.4.9 เชื่อมต่อท่อเข้ากับชุดคอนเดนซิ่ง ยูนิต โดยการขันแฟลร์นัทให้แน่น
5.4.10 ยึดแคลมป์รัดท่อเป็นระยะให้สวยงาม
5.4.11 ทำการตรวจรั่วโดยใช้แก๊สไนโตรเจนอัดเข้าไปในระบบประมาณ 120 psig นำฟองสบู่มาเช็คที่จุดต่อต่างๆเมื่อระบบไม่รั่วให้ปล่อยไนโตรเจนออกจากระบบให้เหลือค้างไว้ 40 psig
5.4.12 ทำสุญญากาศเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
5.4.13 ติดตั้งแผงอุปกรณ์ควบคุมและเซอร์กิตเบรกเกอร์
5.4.14 ต่อสายไฟฟ้าเข้ากับชุดแฟนคอยล์ ยูนิต
5.4.15 ปิดฝาครอบด้านข้างและยึดสกรูให้เรียบร้อย
5.4.16 การบรรจุสารทำความเย็น เมื่อทำสุญญากาศครบ 30 นาที ให้ปิดคอมเปานด์เกจ ปิดเครื่องทำสุญญากาศและบรรจุสารทำความเย็นเข้าระบบ
5.4.16.1 ต่อสายกลางของเกจเข้ากับถังสารทำความเย็น
5.4.16.2 เปิดวาล์วหัวถังสารทำความเย็น
5.4.16.3 คลายเกลียวสายกลางของเกจเพื่อไล่อากาศประมาณ 2-3 นาที
5.4.16.4 เปิดวาล์วเกจด้านความดันต่ำให้สารทำความเย็นไหลเข้าไปในระบบประมาณ 40 psig
5.4.17 นำแคลมป์มิเตอร์คล้องเข้ากับสายไฟ (L) เส้นใดเส้นหนึ่งของคอนเดนซิ่ง ยูนิต
5.4.18 เปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศให้เครื่องทำงานสังเกตเข็มของคอมเปานด์เกจจะบ่ายเบนกลับมาทางตำแหน่งเลขศูนย์ เปิดคอมเปานด์เกจ
5.4.19 เมื่อบรรจุสารทำความเย็นได้ตามพิกัดแล้วให้ปิดถังสารทำความเย็น ถอดสายคอมเปานด์เกจ ออกจากระบบโดยการปิดเบรกเกอร์ ปิดฝาครอบต่อสายไปคอนเดนซิ่ง ยูนิต และจัดเก็บรายละเอียดอื่น ๆ
5.1 แนวปฏิบัติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
5.1.1 ควรติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต และคอนเดนซิ่ง ยูนิต ของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กันมากที่สุด
5.1.2 หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนซิ่ง ยูนิต ไปยังแฟนคอยล์ ยูนิต ด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตที่แนะนำ
5.1.3 ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต ควรอยู่ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก
5.1.4 ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต หลาย ๆ ชุดต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง
5.1.5 ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต ให้อากาศร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับกระแสลม
5.1.6 ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต ต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากเครื่องปรับอากาศสามารถกระจายได้ทั่วห้อง
5.2 ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่าง มีขั้นตอนดังนี้
5.2.1 จัดเตรียมเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างให้พร้อม
5.2.2 ถอดตัวโครงสร้างหลักของเครื่องปรับอากาศออกจากฝาครอบเครื่อง
5.2.3 วัดระยะความกว้างความยาวและความสูง ของฝาครอบเครื่องปรับอากาศเพื่อจัดทำช่องใส่ฝาครอบเครื่องโดยเผื่อความกว้างความยาวและความสูงให้หลวมเล็กน้อย
5.2.4 นำเอาฝาครอบเครื่องปรับอากาศสวมเข้าไปในช่องหน้าต่างที่เตรียมไว้แล้ว
5.2.5 ขันสกรูยึดฝาครอบเครื่องเข้ากับโครงเหล็กด้านบนมีสกรูยึด 4 จุดและยึดสกรูด้านข้าง ๆ ละ 2 จุด
5.2.6 นำเครื่องปรับอากาศสอดเข้าไปในโครงฝาครอบเครื่อง
5.2.7 ขันสกรูยึดโครงเครื่องปรับอากาศเข้ากับฝาครอบเครื่องด้านบนจำนวน 2 จุด
5.2.8 ประกอบหน้ากากและแผงฟิลเตอร์กรองอากาศเข้ากับตัวเครื่องด้านหน้า ยึดด้วยสกรูจำนวน 2 จุด
5.2.9 นำสายเมนของเครื่องปรับอากาศต่อเข้ากับเต้ารับ เพื่อเดินเครื่องทดสอบ
5.2.10 ทำการเปิดซีเล็กเตอร์สวิตช์ในตำแหน่ง HI-Cool ให้เครื่องทำงาน
5.2.11 ตรวจสอบความเรียบร้อยในการทำงานของเครื่องว่าเป็นปกติหรือไม่ เช่น การทำงานของระบบคอมเพรสเซอร์ พัดลม เสียง 5.2.12 ปิดเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้ระบบหยุดทำงาน
5.2.13 จัดเก็บทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อย