top of page
ภาพหน้าจอ (818).png

หน่วยที่ 6 การทำสุญญากาศ

วัตถุประสงค์ทั่วไป

        6.1 หลักการทำสุญญากาศระบบปรับอากาศ

        6.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทำสุญญากาศ

        6.3 การตรวจรั่วระบบเครื่องปรับอากาศ

        6.4 การทำสุญญากาศเครื่องปรับอากาศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

        6.1 อธิบายเกี่ยวกับการทำสุญญากาศได้ถูกต้อง

        6.2 สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการทำสุญญากาศได้ถูกต้อง

        6.3 อธิบายวิธีการตรวจรั่วระบบเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

        6.4 อธิบายขั้นตอนการทำสุญญากาศเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

        6.5สามารถทำสุญญากาศเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

png-clipart-livre-de-dessin-anime-livre-
unnamed.png
images.png
iconfinder-document03-1622833_121957.png

หน่วยที่ 6 การทำสุญญากาศ

1.  หลักการทำสุญญากาศระบบปรับอากาศ

              การทำสุญญากาศระบบเครื่องปรับอากาศ เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงและเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการบรรจุสารทำความเย็นเข้าระบบ การทำสุญญากาศ คือ การใช้ เครื่องทำสุญญากาศดูดอากาศที่เรียกว่า แวคคั่มปั๊ม ดูดเอาอากาศและความชื้นภายในระบบปรับอากาศออกเพื่อให้ภายในระบบท่อสารทำความเย็นเป็นสุญญากาศ

1.1  ถ้ามีอากาศหลงเหลืออยู่ในระบบท่อสารทำความเย็น อากาศจะถูกอัดให้มารวมอยู่ทางด้านแรงดันสูง ทำให้แรงดันใน         คอนเดนเซอร์มีค่าสูง

1.2  อากาศและความชื้นเมื่อรวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น จะทำให้ประสิทธิภาพการหล่อลื่นลดลง ชิ้นส่วนที่เสียดสีกันจะสึก             หลอเร็ว

1.3  ความชื้นเมื่อรวมตัวกับสารทำความเย็นจะทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นกรดเกลือกัดกร่อนชิ้นส่วนภายในคอมเพรสเซอร์           ให้ชำรุดได้ความชื้นทำให้ระบบเกิดการอุดตันขึ้นได้

2.  เครื่องมือในการทำสุญญากาศ

          เครื่องมือในการทำสุญญากาศประกอบด้วย เครื่องมือ 2 ชนิด

2.1  เกจแมนิโฟลด์ (Gauge Manifold) เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นมากในการซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ ใช้ต่อกับระบบปรับอากาศเพื่อวัดค่าความเป็นสุญญากาศหรือค่าแรงดันที่ต่ำกว่าบรรยากาศ วัดค่าแรงดันเหนือบรรยากาศ และวัดอุณหภูมิจุดเดือดของสารทำความเย็นที่ค่าแรงดันต่าง ๆ กันได้
ภาพหน้าจอ (819).png

2.1.1  เกจวัดแรงดันทางต่ำ หรือ คอมเปานด์เกจ (Compound Gauge)

ใช้วัดค่าแรงดันต่ำกว่าบรรยากาศได้ถึง 30 นิ้วปรอท (in.Hg) และวัดค่าแรงดันเหนือบรรยากาศจาก 0-250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psig)

2.1.2  เกจวัดแรงดันทางสูง หรือ เพรสเชอร์เกจ  (Pressue Gauge)  

ใช้วัดค่าความแรงเหนือบรรยากาศจาก 0-500 psig และวัดค่าอุณหภูมิควบแน่นของสารทำความเย็น

2.2  เครื่องทำสุญญากาศ (Vacuum Pump)

         เครื่องทำสุญญากาศทำหน้าที่ดูดอากาศและความชื้นในระบบปรับอากาศออกจนระบบเป็นสุญญากาศ และไม่มีความชื้นหลงเหลืออยู่เลย ปัจจุบันเครื่องทำสุญญากาศที่นิยมใช้เป็นแบบพิเศษ หรือ แบบไฮแวคคั่มปั๊ม (High vaccum pump)  ที่สามารถดูดอากาศประสิทธิภาพสูง สามารถดูด อากาศในระบบปรับอากาศให้มีความกดดันต่ำลงได้ถึง 50 ไมครอนหรือประมาณ 29.99 นิ้วปรอท  (in.Hg VAC)

3.  การตรวจรั่วระบบเครื่องปรับอากาศ

3.1  วิธีการตรวจรั่ว  มี 2 วิธีดังนี้

                  3.1.1  โดยการใช้เครื่องทำสุญญากาศดูดอากาศในระบบปรับอากาศผ่านเกจแมนิโฟลด์รอจนระบบเป็นสุญญากาศเข็มจะชี้ที่ 29.99 นิ้ว                                   ปรอท (in.Hg VAC) แล้วปิดวาล์วทั้งสองด้านของเกจแมนิโฟลด์ รอประมาณ 15 นาที ถ้าเข็มเลื่อนเข้าหาเลข 0 แสดงว่าระบบรั่ว

                  3.1.2  โดยใช้แก๊สไนโตรเจนเพื่อตรวจรั่ว

3.2  ขั้นตอนการตรวจรั่วโดยการอัดแก็สไนโตรเจนเข้าระบบ

        การตรวจรอยรั่วโดยใช้แก๊สไนโตรเจน มีขั้นตอนดังนี้

          3.2.1  ต่อสายเกจวัดแรงดันทางสูง หรือ เพรสเชอร์เกจ เข้ากับวาล์วบริการของท่อทางดูด

          3.2.2  ต่อสายกลางของเกจแมนิโฟลด์เข้ากับสายที่ต่อมาจากถังแก๊สไนโตรเจน

          3.2.3  ปิดวาล์วของเกจแมนิโฟลด์ทั้ง  2  ด้าน

          3.2.4  หมุนวาล์วควบคุมแรงดันที่หัวถังแก๊สไนโตรเจน ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาออกจนสุด

          3.2.5  เปิดวาล์วหัวถังไนโตรเจน 2-3 รอบในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

          3.2.6  ดูที่เกจวัดแรงดันตัวแรก (ตัวใกล้ถัง) จะแสดงแรงดันแก๊สไนโตรเจนที่มีในถัง

          3.2.7  เปิดวาล์วควบคุมแรงดันที่ชุด Recgulator ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาให้ได้แรงดันประมาณ 120 - 150 psig

          3.2.8  เปิดวาล์วเพรสเชอร์เกจให้แก๊สไนโตรเจนไหลเข้าเครื่องปรับอากาศให้ได้แรงดันที่ 30 psig แล้วปิดวาล์ว

          3.2.9  ใช้ฟองสบู่เช็คตามรอยต่อจุดต่าง ๆ

          3.2.10  เพิ่มแรงดันแก๊สไนโตรเจนเข้าไปในระบบเครื่องปรับอากาศโดยการเปิดวาล์วเพรสเชอร์เกจ ให้ได้แรงดันที่  120 psig แล้วปิดวาล์ว

          3.2.11  ใช้ฟองสบู่ตรวจรอยรั่วอีกรอบ

          3.2.12  ถ้าพบรอยรั่วจะเห็นฟองสบู่โปร่งพองขึ้น

          3.2.13  ปิดวาล์วถังไนโตรเจนโดยการหมุนตามเข็มนาฬิกาจนสุด  จากนั้นให้เปิดวาล์วด้านคอมเปานด์เกจ เพื่อปล่อยแก๊สไนโตรเจนออกให้หมด

          3.2.14  ปิดวาล์วลดแรงดันโดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกาออกในตำแหน่งฟรี

          3.2.15  ถอดสายกลางของเกจแมนิโฟลด์ออกจากสายที่ต่อมาจากถังไนโตรเจน

          3.2.16  เก็บสายแก๊สไนโตรเจนให้เรียบร้อย

          3.2.17  เปิดวาล์วเพรสเชอร์เกจ ให้แก๊สไนโตรเจนไหลออกจากเครื่องปรับอากาศโดยเหลือแรงดันในระบบประมาณ 40 psig แล้วปิดวาล์ว

4.  การทำสุญญากาศเครื่องปรับอากาศ

              ในระบบปรับอากาศ การทำสุญญากาศจะกระทำเมื่อระบบได้รับการตรวจซ่อมและตรวจรั่วเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะบรรจุสารทำความเย็น ซึ่งจำเป็นต้องดูดอากาศและความชื้นออกเพื่อให้ระบบปรับอากาศเป็นสุญญากาศและไม่มีความชื้น ดังนั้นขั้นตอนการทำสุญญากาศระบบปรับอากาศจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ในการทำสุญญากาศจะแสดงเกี่ยวกับการทำสุญญากาศของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type Aircondition) การทำสุญญากาศเครื่องปรับอากาศ (กรณีมีวาล์วบริการทั้ง 2 ท่อ)

4.1  นำสายเกจแมนิโฟลด์ทั้งสองเส้น คือ สายคอมเปานด์เกจ เส้นสีน้ำเงินและสายเพรสเชอร์เกจ เส้นสีแดง ต่อเข้ากับวาล์วบริการ           ของเครื่องปรับอากาศ

4.2  ต่อสายสีเหลืองของเกจแมนิโฟลด์ต่อเข้ากับเครื่องทำสุญญากาศ

4.3  ทำการเปิดสวิตช์ให้เครื่องของเครื่องทำสุญญากาศทำงาน

4.4  ทำการเปิดวาล์วเกจแมนิโฟลด์ทางด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงโดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา

4.5  เดินเครื่องทำสุญญากาศทิ้งไว้ 5 นาที หรือเข็มคอมเปานด์เกจลดลงถึง 30 นิ้วปรอท

4.6  ทำการปิดวาล์วคอมเปานด์เกจและเพรสเชอร์เกจ โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา

4.7  ทำการปิดสวิตช์เครื่องทำสุญญากาศ

4.8  สังเกตเข็มของคอมเปานด์เกจ เมื่อปิดเครื่องทำสุญญากาศแล้วเข็มมีการเคลื่อนที่หรือไม่ภายใน 5 นาที ถ้าเข็มมีการเคลื่อน               แสดงว่ามีรอยรั่วต้องกลับไปตรวจหารอยรั่ว

4.9  เปิดเครื่องทำสุญญากาศให้ทำงานอีกครั้งโดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที

4.10  เปิดวาล์วคอมเปานด์เกจและเพรสเชอร์เกจ โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา

4.11  เมื่อทำสุญญากาศครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วทำการปิดวาล์วเกจแมนิโฟลด์ทั้งสองด้าน โดยการหมุนตามเข็มนาฬิกาเข้า           จนสุด

4.12  ทำการปิดสวิตช์เครื่องทำสุญญากาศ

4.13  ถอดสายสีเหลืองของเกจแมนิโฟลด์ออกจากเครื่องทำสุญญากาศ และบรรจุสารทำความเย็นเป็นลำดับต่อไป

bottom of page