top of page
ภาพหน้าจอ (818).png

หน่วยที่ 7 งานบรรจุสารทำความเย็น

วัตถุประสงค์ทั่วไป
       7.1 รู้ชนิดสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ

       7.2 เข้าใจวิธีการบรรจุสารทำความเย็น

       7.3 เข้าใจขั้นตอนการบรรจุสารทำความเย็น

       7.4 เข้าใจลักษณะของเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทำความเย็นที่ถูกต้อง

       7.5 เข้าใจการกักเก็บสารทำความเย็นเครื่องปรับอากาศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

      7.1.1 บอกชนิดของสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

      7.2.1 สามารถบรรจุสารทำความเย็นเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

     7.3.1 อธิบายขั้นตอนการบรรจุสารทำความเย็นเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

     7.4.1 บอกลักษณะของเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทำความเย็นที่ถูกต้องได้ถูกต้อง

     7.5.1 สามารถกักเก็บสารทำความเย็นเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

png-clipart-livre-de-dessin-anime-livre-
unnamed.png
images.png
iconfinder-document03-1622833_121957.png

หน่วยที่ 7 งานบรรจุสารทำความเย็น

1. สารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ

          สารทำความเย็น (Refrigerant) จะทำหน้าที่เป็นสารตัวกลางสำหรับถ่ายเทความร้อน โดยการดูดความร้อนเข้าสู่ตัวเอง หรือดูดความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ ในขณะที่อุณหภูมิต่ำและแรงดันต่ำ ทั้งยังสามารถถ่ายเทความร้อนออกจากตัวเอง

1.1  ประเภทของสารทำความเย็น

           1.1.1  แบ่งตามกระบวนการผลิต

                      1.1.1.1  สารทำความเย็นธรรมชาติ (Natural Refrigerants)

                      1.1.1.2  สารทำความเย็นสังเคราะห์ (Synthesis Refrigerants)​

                      1.1.2.1  สารเชิงเดี่ยว (Pure Refrigerants) เช่น HCFC-22, HFC-134A,

                      1.1.2.2  สารผสม (Mixture Refrigerants) เช่น Binary blend HFC-410A

                      1.1.2.3  อะซีโอโทรป (Azeotrope)

                      1.1.2.4  ซีโอโทรป (Zeotrope)

                      1.1.2.5  Near-Azetrope

          1.1.3 แบ่งตามสูตรเคมี

                      1.1.3.1 CFC (Chlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น  R- 11, R-12

                      1.1.3.2 HCFC (Hydrochlorofluorocarbon) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน คลอรีน ฟลูออรีน  

                      1.1.3.3 HFC (Hydrofluorocarbon) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R-407C

                      1.1.3.4 HC (Hydrocarbon) ประกอบด้วยไฮโดรเจน และคาร์บอน เช่น R-290

                      1.1.3.5 HFO (Hydrofluoroolefin) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน ฟลูออรีนและคาร์บอน เช่น R-1234yf

         1.1.4  แบ่งตามระดับการทำลายโอโซในบรรยากาศ

                      1.1.4.1  สาร CFC (Chlorofluorocarbon) คือ สารทำความเย็นที่มีคลอรีน ซึ่งเป็นตัวทำลายโอโซน

                      1.1.4.2  สาร HCFC (Hydrochlorofluorocarbon) คือ สารทำความเย็นที่มีคลอรีนเป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกับ                                         กลุ่ม CFC

                      1.1.4.3  สาร HFC (Hydrofluorocarbon) คือ สารทำความเย็นที่ไม่มีส่วนประกอบของคลอรีน

1.2  ค่าที่แสดงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

           1.2.1  ค่าที่แสดงระดับการทำลายโอโซน (Ozone Depletion Potential : ODP) ค่า ODP เป็นตัวเลขที่แสดงระดับในการ                                               ทำลายโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ของสารทำความเย็นชนิดต่าง ๆ โดยใช้ค่าของ R-11

           1.2.2  ค่าแสดงระดับการทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น (Global Warming Potential : GWP) สารทำความเย็นที่ระบายออกสู่บรรยากาศจะ                         ทำให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมของโลก นอกจากทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง

ภาพหน้าจอ (820).png
ภาพหน้าจอ (821).png
ภาพหน้าจอ (822).png
ภาพหน้าจอ (823).png
 1.3  ปริมาณการบรรจุสารทำความเย็น
   เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัยที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนั้น โรงงานผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศได้บรรจุสารทำความเย็นไว้ในคอนเดนซิ่ง ยูนิต ที่มาพร้อมกับแฟนคอยล์ ยูนิต อย่างไรก็ตามหากมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่มีระยะความยาวท่อระหว่างคอนเดนซิ่ง ยูนิตกับแฟนคอยล์
                            ตารางที่ 4 ปริมาณการบรรจุสารทำความเย็นและการบรรจุเพิ่ม (R-32 : g)
ภาพหน้าจอ (824).png

1.4  ข้อมูลประกอบการบรรจุสารทำความเย็นเข้าระบบ

         เครื่องปรับอากาศที่สามารถทำความเย็นได้นั้น จะต้องมีการบรรจุสารทำความเย็นในปริมาณที่พอดีที่จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสังเกตได้จากลมที่ออกจากแฟนคอยล์ ยูนิตต้องมีอุณหภูมิต่ำ

        1.4.1  น้ำหนักของสารทำความเย็นที่จะบรรจุ เป็นข้อมูลที่ใช้ในการบรรจุสารทำความเย็นได้ถูกต้องแน่นนอนที่สุด โดยดู                    จากคู่มือการติดตั้งหรือแผ่นป้าย

        1.4.2  ค่ากระแสจ่ายเข้าคอนแดนซิ่ง ยูนิต เป็นข้อมูลที่ใช้ในการบรรจุสารทำความเย็นควบคู่กับการชั่งน้ำหนักสาร                              ทำความเย็น

2.  วิธีการบรรจุสารทำความเย็น

2.1  การบรรจุสารทำความเย็นโดยวิธีการดูแรงดัน

           การบรรจุสารทำความเย็นโดยวิธีการดูแรงดัน จะเป็นวิธีที่นิยมใช้ทั่วไปเพราะมีความสะดวกสามารถใช้ได้กับสารทำความเย็นทุกชนิด สำหรับเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R-22 และ R-32 สามารถบรรจุได้ทั้งลักษณะแก๊สหรือสารทำความเย็นเหลว แต่เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R-410A จะต้องบรรจุในสถานะสารทำความเย็นเหลวเท่านั้น ดังนั้นในการบรรจุ สารทำความเย็น R-410A จะต้องคว่ำถังขณะทำการบรรจุ

ภาพหน้าจอ (825).png

2.1.1  ที่แรงดันต่ำของสารทำความเย็น R-410A (ประมาณ 120 psig) ถ้าอุณหภูมิภายนอก 5 °C จะบรรจุสาร                        ทำความเย็นเข้าไปประมาณ 3.56 kg​

2.1.2  กระแสไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศจะใกล้เคียงกับแผ่นป้าย (Name plate)  ดังนั้น การบรรจุสารทำความเย็น              ด้วยวิธีดูแรงดันจะมีโอกาสทำให้เกิดแรงดันของสารทำความเย็นในระบบและกระแสไฟฟ้ามีค่าสูง

2.2  การบรรจุสารทำความเย็น ด้วยวิธีการชั่งน้ำหนัก

        2.2.1  บรรจุทางด้านด้านแรงดันต่ำขณะระบบไม่ทำงานการบรรจุทางด้านแรงดันต่ำขณะระบบไม่ทำงาน สามารถต่ออุปกรณ์

        2.2.2  บรรจุทางด้านแรงดันต่ำขณะระบบทำงาน การบรรจุทางด้านแรงดันต่ำขณะระบบทำงาน สามารถต่ออุปกรณ์ควรต่อสาย                      สีน้ำเงินของเกจแมนิโฟลด์ เข้ากับท่อลดแรงดัน (แคปทิ้ว พิเศษสำหรับบรรจุสารทำความเย็น) ก่อนต่อกับ เซอร์วิสวาล์ว                    ของเครื่องปรับอากาศ เพื่อทำให้สารทำความเย็นเหลว ถูกกฉีดเป็นฝอย และแรงดันสารทำความเย็นไม่สูงเกินไป 

2.3  วิธีการบรรจุสารทำความเย็น โดยการใช้ค่าซุปเปอร์ฮีท

           ซุปเปอร์ฮีท คือ ผลต่างระหว่างอุณหภูมิท่อทางดูดกับอุณหภูมิระเหยของสารทำความเย็น

           ซุปเปอร์ฮีท = อุณหภูมิที่ท่อทางดูด – อุณหภูมิที่คอมเปานด์เกจอ่านค่าได้

ภาพหน้าจอ (826).png

3.  ขั้นตอนการบรรจุสารทำความเย็น

          การบรรจุสารทำความเย็นเครื่องปรับอากาศสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การบรรจุสารทำความเย็นเข้าเครื่องปรับอากาศสถานะของเหลว และการบรรจุสารทำความเย็นเข้าเครื่องปรับอากาศสถานะแก๊ส การบรรจุสารทำความเย็นเข้าเครื่องปรับอากาศด้วยวิธีการชั่งน้ำหนัก เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องปรับอากาศเพราะสามารถบรรจุได้อย่างรวดเร็วและกำหนดปริมาณที่

3.1  ต่อสายคอมเปานด์เกจ เส้นสีน้ำเงิน เข้ากับวาล์วบริการท่อทางดูด (ท่อใหญ่) และสายเพรสเชอร์เกจ เส้นสีแดง ต่อเข้ากับวาล์วบริการด้านท่อ           สารทำความเย็นเหลว (ท่อเล็ก)

3.2  ถอดฝาครอบจุดต่อสายของคอนเดนซิ่ง ยูนิต เพื่อทำการคล้อง แคลมป์มิเตอร์เข้ากับสายเมนนำไฟฟ้าที่จ่ายเข้าคอนเดนซิ่ง ยูนิต

3.3  นำแคลมป์มิเตอร์คล้องเข้ากับสายเส้นที่มีไฟของคอนเดนซิ่ง ยูนิต เพื่อใช้ในการวัดกระแสของเครื่องปรับอากาศ

3.4  ตั้งอุณหภูมิของ Room Temperature Control ไว้ที่ตำแหน่งอุณหภูมิต่ำสุดปรับความเร็วพัดลมอยู่ในตำแหน่ง High หรือความเร็วสูงสุด

3.5  ต่อสายเกจแมนิโฟลด์เส้นสีเหลือง (สาย Service) เข้ากับถังสารทำความเย็น R-22 ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ

3.6  ทำการเปิดวาล์วหัวถังสารทำความเย็น R-22 หมุนทวนเข็มนาฬิกาให้ได้ 2-3 รอบ

3.7  คลายเกลียวสายสีเหลือง (สาย Service) ของเกจแมนิโฟลด์ เพื่อทำการไล่อากาศที่ยังตกค้างอยู่ในสายสีเหลือง ประมาณ 2-3  วินาที

3.8  ทำการเปิดวาล์วคอมเปานด์เกจ เพื่อบรรจุสารทำความเย็นขั้นต้นให้มีความดันประมาณ  20  psig ขณะเดียวกันให้ปิดวาล์วเพรสเชอร์เกจไว้             ตลอดเวลา

3.9  เปิดเซอร์กิตเบรกเกอร์ไปที่ตำแหน่ง ON พร้อมทั้งเปิดสวิตช์ Room Temperature Control จากนั้นแฟนคอยล์ ยูนิต จะเริ่มทำงาน รออีก                 ประมาณ 3 นาที

3.10  เมื่อคอนเดนซิ่ง ยูนิต ทำงานให้สังเกตที่เข็มของคอมเปานด์เกจจะลดต่ำลงจาก 20 psig ให้ทำการเปิดวาล์วคอมเปานด์เกจ

3.11  ทำการบรรจุสารทำความเย็น R-22 เข้าไปในระบบของเครื่องปรับอากาศ  จนได้แรงดันด้านต่ำประมาณ 68-75 psig  และด้านแรงแรงทางสูง           จะต้องได้ค่าประมาณ  250-280  psig ซึ่งเป็นค่าความดันปกติที่ใช้งานในระบบของเครื่องปรับอากาศ

3.12  เมื่อได้ดำเนินการถูกต้องทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้ทำการปิดวาล์วที่หัวถังสารทำความเย็นโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาจนสุด และทำการถอด           สายเกจเส้นสีเหลืองออกจากถังสารทำความเย็นรวมทั้งเส้นสีแดงและสีน้ำเงินออกจากวาล์วบริการ

4.  ลักษณะของเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทำความเย็นที่ถูกต้อง

               4.1  ค่ากระแสไฟฟ้าต้องไม่เกิน Full Load Ampere

               4.2  ค่าแรงดันของสารทำความเย็นได้ตามที่มาตรฐานกำหนด เช่น R-22 อยู่ที่ 68-75 psig

               4.3  ท่อทางดูดที่ตำแหน่งก่อนเข้าคอนเดนซิ่ง ยูนิต ต้องมีหยดน้ำจับ

               4.4  ลมที่เป่าออกจากแฟนคอยล์ ยูนิตต้องเย็นมีอุณหภูมิประมาณ 14 °C

5.  การกักเก็บสารทำความเย็นเครื่องปรับอากาศ

          ในกรณีต้องการย้ายเครื่องปรับอากาศ จำเป็นต้องทำการสูบเก็บสารทำความเย็น จากแฟนคอยล์ ยูนิต เก็บไว้บริเวณแผงคอนเดนเซอร์ก่อนการถอดแยก เรียกว่า การปั้มดาวน์ (Pump Down) ตามรูปที่ 9.20 โดยการปิดวาล์วบริการ(วาล์วหมายเลข 1) ด้านท่อลิขวิด(ด้านแรงดันสูง) พร้อมทั้งต่อสายคอมเปานด์เกจเข้ากับวาล์วบริการ ด้านท่อทางดูด(วาล์วหมายเลข 2) แล้วทำการเดินเครื่องปรับอากาศจนแรงดันลดต่ำลงเหลือประมาณ 2-7 Psig

20.png
bottom of page