top of page
ภาพหน้าจอ (827).png
หน่วยที่ 8 งานล้างบริการเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังและแบบแขวน

วัตถุประสงค์ทั่วไป
          8.1 เข้าใจหลักการบริการที่ดี

         8.2 เข้าใจการบริการเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง

         8.3 เข้าใจการบริการเครื่องปรับอากาศแบบแขวน

         8.4 เข้าใจการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

         8.1.1 บอกหลักการบริการที่ดีได้ถูกต้อง

        8.1.2 อธิบายการบริการเครื่องปรับอากาศเบื้องต้นได้ถูกต้อง

        8.2.1 อธิบายการบริการเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังได้ถูกต้อง

        8.3.1 อธิบายการบริการเครื่องปรับอากาศแบบแขวนได้ถูกต้อง

        8.4.1 สามารถบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

        8.4.2 สามารถล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศได้ถูกต้อง

png-clipart-livre-de-dessin-anime-livre-
unnamed.png
images.png
iconfinder-document03-1622833_121957.png

หน่วยที่ 8 งานล้างบริการเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังและแบบแขวน

1.  หลักการบริการที่ดีและสูตร  3 ร.  5 ย.

        

            1.1  หลักการบริการที่ดี 6 ประการของ เดล คาร์เนกี

                  1.1.1  จงเอาใจใส่อย่างแท้จริง

                  1.1.2  ยิ้ม

                  1.1.3  จำชื่อเขาให้ได้

                  1.1.4  เป็นนักฟังที่ดี

                  1.1.5  สนทนาในเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจ

                  1.1.6  รู้จักยกย่องให้ความสำคัญกับคู่สนทนา

           1.2  สูตร 3 ร. 5 ย.

                1.2.1 สูตร 3 ร. ได้แก่

                      1.2.1.1  รวดเร็ว  ต้องทำงานรวดเร็วทันตามเวลาที่กำหนด

                      1.2.1.2  รอบคอบ  ต้องมีความละเอียดรอบคอบระมัดระวังในทุกขั้นตอน

                      1.2.1.3  เรียบร้อย  เน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งขณะปฏิบัติงานและหลังการปฏิบัติงาน

                1.2.2  สูตร 5 ย. ได้แก่

                      1.2.2.1  ยิ้มแย้ม  ยิ้มแย้มแจ่มใสประทับใจตลอดกาล

                      1.2.2.2  ยืดหยุ่น  ไม่ถือระเบียบกติกามากเกินไป ทำตามความเหมาะสม

                      1.2.2.3  ยกย่อง  ให้เกียรติยกย่องลูกค้า

                      1.2.2.4  ยืนหยัด  ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แก้ปัญหาให้ได้

                      1.2.2.5  เยี่ยมเยือน  ติดต่อสอบถาม แสดงความห่วงใย

2.  การบริการเครื่องปรับอากาศเบื้องต้น

2.1  ทำความสะอาดฟิลเตอร์กรองอากาศ (Prefilter) ฟิลเตอร์กรองอากาศจะเป็นอุปกรณ์ตัวแรกที่ชุดแฟนคอยล์ ยูนิต คอยกรองเศษฝุ่นละอองขนาดเล็กที่พัดลมจะดูดผ่านเข้าไปในแฟนคอยล์ ยูนิต เพื่อไม่ให้หลุดลอดเข้าไปในฟินของอีแวปปอเรเตอร์ได้ ต้อง  หมั่นถอดล้างอยู่สม่ำเสมอ โดยการฉีดน้ำประปาราดให้ทั่วเพื่อล้างฝุ่นผงที่ติดอยู่บริเวณแผ่นกรองออกให้หมด

2.2  ตัวฟอกอากาศ จะมีตัวดักฝุ่นขนาดเล็ก เช่น พวกแบคทีเรียมีขนาดเล็กที่สายตาเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและฟิลเตอร์กรอง      อากาศดักไว้ไม่อยู่ เมื่อผ่านเข้ามายังตัวฟอกอากาศซึ่งมีสารประเภท Ionizer มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก จะดูดแบคทีเรียขนาดเล็กเหล่า

นั้นไว้ไม่ให้หลุดเข้าไปภายในได้ ทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น

2.3  ตรวจสอบการทำงานของรีโมทคอนโทรล ความเร็วมอเตอร์พัดลมและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ชุดแฟนคอยล์ ยูนิต

2.4  ตรวจสอบถาดน้ำทิ้ง และมอเตอร์พัดลมแฟนคอยล์ ยูนิต เพื่อล้างทำความสะอาดเมือกและตะกอนที่ตกค้างในถาดน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง ถอดโครงมอเตอร์พัดลมเป่าทำความสะอาด และหยอดน้ำมันหล่อลื่นที่บู๊ชมอเตอร์พัดลม

2.5  ตรวจสอบชุดคอนเดนซิ่ง ยูนิต โดยถอดฝาครอบออกทั้งหมดตรวจสอบขั้วต่อสาย และจุดต่ออุปกรณ์ทั้งหมด สภาพต้องแน่นแข็งแรง ถ้ามีหลวมให้ทำการเปลี่ยนใหม่ อุปกรณ์แมคเนติกคอนแทกเตอร์ ถ้ามีรอยเขม่าจากเปลวไฟ

2.6  ทดสอบเดินเครื่อง วัดค่าพิกัดต่างๆ ตามขั้นตอนดังนี้

          2.6.1  วัดแรงดันในระบบให้อยู่ในพิกัด ถ้าแรงดันลดลงให้บรรจุสารทำความเย็นเพิ่มจนเต็ม และทดสอบหารอยรั่วเพิ่มเติม

          2.6.2  วัดค่าแรงดันไฟฟ้าในระบบ วัดค่ากระแสที่เครื่องทำงาน (Full Load Amp)

          2.6.3  วัดอุณหภูมิอากาศไหลเข้าและอากาศไหลออกที่ชุดแฟนคอยล์ ยูนิตและชุดคอนเดนซิ่งยูนิต

          2.6.4  บันทึกค่าการวัดทั้งระบบ และสภาพการทำงานของเครื่อง

          2.6.5  แจ้งสภาพเครื่องแก่ลูกค้า และเซ็นรับรองงาน

2.7  นำข้อมูลเก็บเข้าแฟ้มประวัติ เพื่อวางแผนการซ่อมบำรุงครั้งต่อไป

3.  การบริการเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

         งานบริการเป็นงานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเครื่องปรับอากาศ นอกจากจะยืดอายุการใช้งานแล้วยังยังทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานด้วยประสิทธิภาพที่ดีตลอดเวลา ประสิทธิภาพที่ดีหมายความว่า เครื่องปรับอากาศทำงานได้เป็นปกติ ความสามารถทำความเย็นได้ปกติ

3.1 การบริการ

       3.1.1 การล้างทำความสะอาด

             1) อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ได้แก่ ขดท่อคอนเดนเซอร์ขดท่ออีแวปปอเรเตอร์ และฟิลเตอร์กรองอากาศ

             2) อุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่ พัดลม โครงประกอบภายนอกเครื่อง

      3.1.2 การทดลองเดินเครื่องเพื่อตรวจสอบหาประสิทธิภาพ

             1) การวัดหาแรงดันของสารทำความเย็นในระบบ

             2) การวัดค่าอุณหภูมิของอากาศ และอุณหภูมิของสารทำความเย็น  ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่จำเป็น

             3) การวัดค่าทางไฟฟ้า เช่น ค่าการกินกระแสไฟฟ้า ค่าความเป็นฉนวน

             4) การบันทึกค่าที่ได้ พร้อมวิเคราะห์สรุปผลการบริการ

 3.2  รายละเอียดงานบริการ

       3.2.1 การบริการล้างทำความสะอาด  การบริการล้างเครื่องปรับอากาศโดยทั่วไป จะแบ่งเป็นการบริการล้างเครื่องปรับอากาศ

                เป็น 2 แบบ คือ การบริการเครื่องปรับอากาศแบบล้างย่อย

                3.2.1.1  การบริการเครื่องปรับอากาศแบบล้างย่อย ควรทำการล้างเครื่องปรับอากาศเดือนละ 1 ครั้ง หรือการพิจารณา

                             จำนวนครั้งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความถี่ในการใช้เครื่องปรับอากาศ เช่น เครื่องปรับอากาศที่เปิดใช้งานบ่อย

                            1)  การเป่าทำความสะอาดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนภายนอก (คอนเดนเซอร์)

                            2)  การใช้หวีแปรงคอยล์ทำความสะอาดแผงอีแวปปอเรเตอร์

                            3)  การเป่าทำความสะอาดบริเวณอื่น ๆ ภายในตัวเครื่อง

                            4)  การทำความสะอาดฟิลเตอร์กรองอากาศ และการวัดค่าต่าง ๆ

               3.2.1.2  การบริการเครื่องปรับอากาศแบบล้างใหญ่ การล้างเครื่องปรับอากาศแบบใหญ่ควรมีการล้างปีละ 2 ครั้งหรือ

                            6 เดือนต้องล้าง 1 ครั้ง

                           1)  เดินเครื่องปรับอากาศ เพื่อตรวจสอบดูการทำงานประมาณ 10 นาที

                                สังเกตการทำงานของเครื่องว่าปกติดีหรือไม่

                           2)  ปิดเซอร์กิตเบรกเกอร์ของเครื่องปรับอากาศ

                           3)  เปิดหน้ากากส่วนหน้าเครื่องปรับอากาศยกขึ้นให้สูงสุด

                           4)  ถอดแผ่นกรองอากาศด้วยการดึงลง เวลาถอดให้ถอดอย่างระวัง เพราะจะมีฝุ่นเยอะ

                           5)  หาจุดขันสกรู ซึ่งจะมีจุกพลาสติกปิดไว้ บริเวณด้านล่าง ใกล้กับ

                           6) ยกฝาครอบโครงเครื่องด้านหน้าออก เวลาถอดต้องระวัง

                           7)  ถอดบานสวิง จะมีสลักอยู่ด้านซ้าย และตรงกลาง ให้ปลดสลักตรงกลางออกก่อน

                           8)  ถอดตัวรับสัญญาณรีโมทออก โดยการปลดสายที่เชื่อมต่ออยู่ออกให้หมด แล้วจึงถอดตัวรับสัญญาณ

                           9)  ใช้ไขควงขันนอตตัวบนออกเพื่อเปิดฝาครอบแผงวงจร

                         10)  ถอดฝาครอบแผงวงจรไฟฟ้าออก

                         11)  ถอดสายมอเตอร์ออกจากแผงวงจรไฟฟ้า

                         12)  ใช้ไขควงขันนอตตัวล่างออก

                         13)  ถอดสายไฟออกจากจุดต่อสาย S1 S2 S3 โดยใช้ไขควงหมุนน็อตออก

                         14)  ถอดแผงวงจรไฟฟ้าออก โดยการดึงออกมาทั้งแผง

                         15)  ถอดถาดรองน้ำ ให้ดึงออกที่ละข้าง ให้ถอดข้างที่ไม่มีท่อน้ำทิ้งก่อน แล้วค่อยถอดอีกข้างที่มีท่อน้ำทิ้ง

                                ขณะถอดท่อน้ำทิ้ง

                         16)  ถอดพัดลมแฟนคอยล์ ยูนิต ให้ขันนอตที่ยึดข้างบุ๊ชเพลาพัดลมของเครื่องปรับอากาศ ที่ฝั่งตรงข้ามกับมอเตอร์

                         17)  ใช้ไขควงขันนอตที่ตรงใบพัดลม ตรงเพลาด้านหน้าของมอเตอร์ ขันออกพอประมาณที่จะสามารถ

                                ถอดเพลาใบพัดลมออกจากเพลาของมอเตอร์

                         18)  ถอดบุ๊ซที่ครอบแกนหมุนใบพัดออกก่อน แล้วให้ดันแผงแฟนคอยล์ ยูนิต ขึ้นเล็กน้อย

                         19)  นำถุงพลาสติกมาคลุมตรงที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าในส่วนที่ถอดไม่ได้

                         20)  นำผ้าใบมาคุมเครื่องปรับอากาศ

                         21)  นำเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงมาฉีดล้างทำความสะอาดแผงอีแวปปอเรเตอร์

                         22)  ใช้เครื่องเป่าลม เป่าแผงอีแวปปอเรเตอร์ และใช้ผ้าเช็ดบริเวณรอบ ๆ ให้สะอาด

                         23)  ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างฟิลเตอร์หรือแผงกรองฝุ่น

                         24)  ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างฝาครอบโครงเครื่องปรับอากาศ

                         25)  ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างถาดรองน้ำ

                         26) ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างใบพัดลมแฟนคอยล์

                         27)  ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างหน้ากากส่วนหน้า

                         28)  ใช้เครื่องเป่าลมเป่าฟิลเตอร์หรือแผงกรองฝุ่นให้แห้ง

                         29)  ใช้เครื่องเป่าลมเป่าฝาครอบโครงเครื่องปรับอากาศ

                         30)  ใช้เครื่องเป่าลม เป่าถาดรองน้ำให้แห้ง

                         31)  ใช้เครื่องเป่าลมเป่าฝาปิดโครงเครื่องปรับอากาศด้านบน

                         32)  ทำความสะอาดคอนเดนซิ่ง ยูนิต ใช้ไขควงขันนอตตรงฝาครอบด้านบนของคอนเดนซิ่ง ยูนิต

                         33)  ยกฝาครอบด้านบนออก

                         34)  ใช้ไขควงขันนอตฝาครอบโครงด้านหน้า

                         35)  ยกฝาครอบโครงด้านหน้าข้างออก

                         36)  ถอดสายมอเตอร์พัดลมคอนเดนซิ่ง ยูนิต ออกจากขั้วต่อสายบนแผง

                         37)  ใช้ไขควงขันนอตที่ฐานยึดมอเตอร์พัดลมด้านล่าง

                         38)  ยกฐานพัดลมออกทั้งชุด

                         39)  ใช้พลาสติกใสบางคลุมแผงอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกน้ำ

                         40)  ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างทำความสะอาดแผงคอนเดนเซอร์ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และพื้นที่รอบ ๆ

                         41)  ใช้เครื่องเป่าลมเป่าแผงคอนเดนเซอร์และใช้ผ้าเช็ดตามส่วนต่าง ๆ

                         42)  ใช้ผ้าเช็ดและมอเตอร์ของใบพัดให้สะอาด

                         43)  ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างฝาครอบโครงด้านหน้า

                         44)  ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างฝาครอบโครงด้านบน

4.  การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

4.1  วัตถุประสงค์ของการบำรุงรักษา  อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศจะมีอายุการในงานที่แตกต่างกัน อุปกรณ์บางส่วนต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ  อุปกรณ์บางอย่างต้องดูแลเป็นระยะ ๆ ตามชั่วโมงการทำงาน 

4.2  ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ  การบำรุงรักษาที่ดีจะทำให้เกิดประสิทธิผล ดังต่อไปนี้

              4.2.1  ลดความเสียหายและเสียเวลา อันเกิดจากเครื่องปรับอากาศขัดข้องขณะใช้งาน

              4.2.2  ยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ

              4.2.3  ลดชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีคุณภาพต่ำ

              4.2.4  รักษาประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศให้เสมือนใหม่ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน

              4.2.5  ลดการสำรองอะไหล่

              4.2.6  ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และได้ประสิทธิภาพความเย็นเต็มที่

4.3  แผนการซ่อมบำรุง การซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศจะต้องมีองค์ประกอบหลักเพื่อใช้เป็นข้อมูล และการวางแผนการซ่อมบำรุง  ควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

              4.3.1  ช่างเครื่องปรับอากาศต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบแก้ไขเครื่องปรับอากาศสามารถตรวจ                            สอบและแก้ไขเครื่องปรับอากาศได้เป็นอย่างดี

              4.3.2  คู่มือเครื่องปรับอากาศในรุ่นที่ใช้ คู่มือการใช้งาน คู่มือติดตั้ง และเอกสารใบรับประกัน

              4.3.3  อุปกรณ์ที่จะต้องตรวจซ่อมตามอายุการใช้งาน ก่อนหลัง หรือแยกรายการอุปกรณ์ที่จะต้องตรวจสอบเป็นราย                              สัปดาห์  รายเดือน  หรือราย 2-3 เดือน

              4.3.4  แบบแปลนการติดตั้ง  แบบแปลนการติดตั้งจะเป็นตัวบอกลักษณะการติดตั้งของเครื่องปรับอากาศทั้งระบบวงจร                          สารทำความเย็นและระบบวงจรไฟฟ้า  จะต้องมีคู่มือวงจรของเครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่น 

              4.3.5  ตารางกำหนดการซ่อมบำรุง  คู่มือการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศที่จะต้องทำเป็นรายสัปดาห์                          รายเดือน 

4.4  การบำรุงรักษาแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM) เป็นการบำรุงรักษาแบบทวีผลโดยใช้การบำรุงรักษาหลายชนิดมาประกอบกัน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนช่วยเหลือกัน โดยหลักแล้วจะมีการบำรุงรักษาแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

              4.4.1  การบำรุงรักษาเมื่อเกิดเหตุขัดข้องหรือชำรุด (Breakdown  Maintenance : BM) เป็นการซ่อมบำรุงที่ต้องทำ                    เมื่อเครื่องปรับอากาศไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ 

              4.4.2  การป้องกันเพื่อการบำรุงรักษา (Maintenance Prevention : MP) เป็นการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีความ                  แข็งแรงทนทาน

              4.4.3  งานบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance : CM)  เป็นการดัดแปลงปรับปรุงเครื่องปรับ                        อากาศให้มีสมรรถนะสูงขึ้น 

              4.4.4  งานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance : PM ) เป็นการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศที่มีการ                      วางแผนไว้ล่วงหน้า  เพื่อป้องกันการเกิดข้อขัดข้องของเครื่องปรับอากาศ

                            4.4.4.1  การทำความสะอาด (Cleaning)  เช่น การล้างฟิลเตอร์  เช็ดหน้ากาก  ตรวจสอบท่อน้ำทิ้ง

                            4.4.4.2  การหล่อลื่น (Lubrication)  เช่น การหยอดน้ำมันที่ลูกปืนพัดลม

                            4.4.4.3  การตรวจสภาพ (Inspection)  เช่น การตรวจสภาพสายไฟฟ้า สายของอุปกรณ์ต่าง ๆ

                            4.4.4.4  การตรวจสอบสภาวะการทำงาน (Condition Checking) การตรวจสอบสภาวะการทำงานของ                                         เครื่องการวัดค่าอุณหภูมิความเย็น

                            4.4.4.5  การตรวจสอบความถูกต้อง (Function Test)  การตรวจสอบระบบควบคุมรีโมทคอนโทรล การตั้งค่า                                อุณหภูมิ ตั้งเวลาตามเงื่อนไขต่างๆ 

4.5  ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อสร้างระบบ PM ซึ่งพัฒนามาเป็นระบบการบำรุงรักษาทวีผล ที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม มีรูปแบบ

               4.5.1  การจัดทำข้อมูลเครื่องปรับอากาศ (Plan Data) ประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้

                             4.5.1.1  ชื่อเครื่องปรับอากาศประจำห้อง  หรือหน่วยงาน

                             4.5.1.2  รหัสเครื่องปรับอากาศ  รุ่น  ยี่ห้อ  ขนาดบีทียู

                             4.5.1.3  ข้อมูลทางเทคนิคของเครื่อง (Technical Data Specification) ข้อมูลทางเทคนิคที่โรงงาน                                         ทดสอบกำหนดออกมาเป็นโบชัวร์

                             4.5.1.4) สภาพการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นแบบใด  เช่น  ตั้งพื้น  แขวนเพดาน  ติดผนัง

                             4.5.1.5  ประวัติการซ่อมบำรุง หรือบำรุงรักษา  มีช่องบันทึกประวัติการบำรุงรักษาเป็นระยะตามที่กำหนด

               4.5.2  การจัดทำ PM Instruction เป็นการจัดทำรายละเอียดของเครื่องปรับอากาศที่จะต้องทำกิจกรรม PM ได้แก่

                            4.5.2.1  ชื่อเครื่องปรับอากาศ ประจำห้อง/หน่วยงาน

                            4.5.2.2  รหัสเครื่องปรับอากาศ  รุ่น  ยี่ห้อ  ขนาดบีทียู

                            4.5.2.3  ชิ้นส่วน  หรืออุปกรณ์ที่ต้องดูแลซ่อมบำรุง

                            4.5.2.4  รายละเอียดของงานที่จะทำการซ่อมบำรุง

                            4.5.2.5  ผู้รับผิดชอบในการซ่อมบำรุง/กำกับดูแล

                            4.5.2.6  ความถี่หรือระยะเวลาที่ต้องทำการซ่อมบำรุง  กำหนดเป็นปฏิทินปฏิบัติงาน

                            4.5.2.7  เวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุง

               4.5.3  การวางแผน (Planning) การจัดทำกิจกรรม PM เป็นการวางกิจกรรมออกจากการซ่อมบำรุงหลักเพราะการทำ                     กิจกรรม PM นี้จะเป็นการทำแบบต่อเนื่องตลอดเวลา

               4.5.4  การนำไปสู่การปฏิบัติ (Execution) ก่อนลงมือปฏิบัติจะต้องมีการอบรมประชุมชี้แจงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความ                   เข้าใจในระบบ PM ที่จะจัดทำให้มีจิตสำนึกเกิดความตระหนักร่วมกันถึงผลดีที่เกิดขึ้นกับหน่วยงาน 

5.  ตัวอย่างรายการการตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

           เครื่องปรับอากาศจะต้องหมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าดังตัวอย่างรายการตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ ตามตารางที่ 5.1

ภาพหน้าจอ (829).png
bottom of page